รู้ครบจบทุกมุมเกี่ยวกับ MACD ในการเทรด Forex
ตลาด Forex ก็เปรียบเสมือนสมรภูมิรบ ที่ถ้าอยากเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ก็ห้ามกระโจนเข้าไปแบบมือเปล่า แต่ควรมีอาวุธประสิทธิภาพสูงติดตัวไปด้วย ซึ่งอาวุธที่ว่าก็คือองค์ความรู้ เทคนิค รวมถึงเครื่องมือ Indicator ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเทรด หนึ่งในนั้นคือ “MACD” ส่วนนักเทรดคนไหนยังไม่รู้ว่า MACD ใช้ยังไง บทความนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจแบบกระชับ พร้อมยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ ติดตามได้เลย
MACD คืออะไร ?
MACD หรือ Moving Average Convergence Divergence คือหนึ่งในอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์ Forex โดย MACD ถูกใช้เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคา ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดควรเข้าซื้อหรือขายเพื่อทำกำไร
MACD ประกอบด้วยเส้น 2 เส้น ได้แก่ เส้น MACD Line และเส้น Signal Line โดยเส้น MACD Line จะคำนวณจากผลต่างของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียล (EMA) 2 ค่า ซึ่งมักจะใช้ค่า EMA 12 วันและ 26 วัน ส่วนเส้น Signal Line คือ EMA 9 วันของเส้น MACD
นอกจากนี้ ยังมี MACD Histogram ซึ่งแสดงถึงระยะห่างระหว่างเส้น MACD Line และเส้น Signal Line โดยเทรดเดอร์สามารถใช้ MACD Histogram เพื่อยืนยันสัญญาณการซื้อขายได้
สัญญาณการเทรดจาก MACD
- Crossover Signal: สัญญาณ Crossover เกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD Line ตัดผ่านเส้น Signal Line โดยเมื่อ MACD Line ตัดขึ้นเหนือ Signal Line ถือเป็นสัญญาณให้เข้าซื้อ (Bullish Crossover) ส่วนเมื่อ MACD Line ตัดลงต่ำกว่า Signal Line ถือเป็นสัญญาณเทขาย (Bearish Crossover) อย่างไรก็ตาม สัญญาณ Crossover อาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงควรใช้ร่วมกับสัญญาณอื่น ๆ เพื่อยืนยันทิศทางตลาด
- Divergence Signal: Divergence หมายถึงสถานการณ์ที่ราคาและ MACD มีทิศทางที่ขัดแย้งกัน โดยหากราคาสูงขึ้นแต่ MACD ต่ำลง จะเรียกว่า Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณขาย ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากราคาต่ำลงแต่ MACD สูงขึ้น เรียกว่า Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณซื้อ Divergence บ่งบอกถึงโมเมนตัมของราคาที่อ่อนแอ และอาจเกิดการกลับตัวในเร็ว ๆ นี้
- Oversold/Overbought Signal: MACD Histogram สามารถใช้วัดระดับ Oversold/Overbought ของตลาดได้ เมื่อ Histogram มีค่าสูงมาก แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะ Overbought ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง ส่วนเมื่อ Histogram มีค่าต่ำมาก แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะ Oversold ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ Overbought สามารถ Overbought ต่อไปได้อีก และตลาดที่ Oversold ก็จะสามารถ Oversold ต่อไปได้เช่นกัน จึงห้ามลืมนำสัญญาณนี้ไปปรับใช้ร่วมกับสัญญาณอื่น ๆ

ตัวอย่างสถานการณ์การใช้ MACD ในการเทรด Forex
เพื่อให้นักเทรดทุกคนเข้าใจว่า MACD ใช้ยังไงในการเทรด Forex ได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จึงขอทิ้งท้ายด้วยการจำลองสถานการณ์สมมติว่า เราสามารถนำ MACD มาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ที่ 1
MACD (12,26,9) บน EUR/USD กราฟ 4 ชั่วโมง ตัดกันเป็น Golden Cross ที่ 1.1800
เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal ทำให้เกิด Golden Cross ที่ระดับราคา 1.1800 นี่ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงเทรนด์ขาขึ้น เทรดเดอร์อาจเข้าออเดอร์ Buy ตรงจุดตัดนั้น โดยวาง Stop Loss ที่จุดต่ำสุดล่าสุด และกำหนด Take Profit ตามแนวต้านที่สำคัญ เพื่อล็อกกำไรเมื่อราคาขึ้นถึงเป้าหมาย
สถานการณ์ที่ 2
ราคา GBP/USD ลงต่ำ แต่ MACD Histogram มีขนาดสั้นลง เกิด Bullish Divergence
ในกรณีนี้ถ้าราคา GBP/USD ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ MACD Histogram มีขนาดสั้นลงทุกที จนกระทั่งเกิด Bullish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าแรงขายเริ่มอ่อนแอลง และราคามีแนวโน้มที่จะกลับตัวขึ้น นี่คือโอกาสที่น่าสนใจในการเข้าสถานะ Buy เพื่อรอการฟื้นตัวของราคา
สถานการณ์ที่ 3
MACD บน USD/JPY ให้สัญญาณขัดแย้งในกรอบเวลาที่ต่างกัน
ถ้า MACD บนกราฟ USD/JPY แท่ง 1 ชั่วโมง ให้สัญญาณ Sell แต่เมื่อดูบนกรอบเวลาแท่ง 4 ชั่วโมงกลับชี้ขึ้น แสดงให้เห็นว่าเทรนด์หลักยังคงเป็นขาขึ้น การเข้าสถานะ Sell บนกรอบเวลาแท่ง 1 ชั่วโมง อาจมีความเสี่ยงสูง เทรดเดอร์ควรพิจารณากรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้น และรอสัญญาณยืนยันเทรนด์ก่อนตัดสินใจเข้าเทรด
เปรียบเทียบโบรกเกอร์ Forex เพื่อหาโบรกเกอร์ที่ใช่กับ TrustFinance
ได้รู้แล้วว่า MACD คืออะไร และปรับใช้ยังไงในการเทรด Forex ทว่า นอกจากการมีความรู้แล้ว การใช้บริการโบรกเกอร์ที่เชื่อถือได้ และมีฟีเจอร์ครบตามต้องการก็สำคัญไม่แพ้กันในการสร้างกำไรในตลาด Forex ดังนั้น ควรอ่านรีวิวของโบรกเกอร์แต่ละเจ้าเพื่อเปรียบเทียบโบรกเกอร์ Forex ก่อนตัดสินใจว่าจะเทรดโบรกเกอร์เจ้าไหนดี ได้ที่ TrustFinance เว็บเช็กโบรกเกอร์ที่คุณมั่นใจได้ รวมรีวิวที่น่าเชื่อถือไว้มากมาย ให้คุณค้นพบโบรกเกอร์ที่เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง สามารถเข้ามาเปรียบเทียบและเลือกโบรกเกอร์ที่ใช่เพื่อเริ่มต้นเทรด Forex กันได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง
- How to Trade the MACD. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://www.investopedia.com/articles/forex/05/macddiverge.asp
- Forex: The Moving Average MACD Combo สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://www.investopedia.com/articles/forex/08/macd-combo.asp